วันหนึ่งแม่ก้อยได้ร่วมทำบุญกับเพื่อนรัก โดยการส่งเวชภัณฑ์เกี่ยวกับการพยาบาลเบื้องต้นให้กับศูนย์สาธารณสุขแห่งหนึ่ง นอกจากแม่ก้อยจะมีความอิ่มเอมในการทำดีครั้งนี้แล้ว แม่ก้อยยังได้รับความรู้กลับมาจากการส่งต่อความรู้ในเรื่องของโรคไข้ซิก้า จากคุณพยาบาลด้วยค่ะ
ทำให้แม่ก้อยทราบ และรับรู้ว่าโรคไข้ซิก้าเป็นโรคที่มีพาหะเป็นยุงลาย ผู้ที่โดนยุงลายกัดและติดเชื้อไวรัสซิก้า จะไม่ติดต่อจากคนสู่คนด้วยการสัมผัสคลุกคลี แต่เกิดการจากที่คนถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสซิก้ากัดค่ะ
มีรายงานพบว่าเชื้อไวรัสซิก้าตรวจพบได้ในเลือด และน้ำอสุจิ ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่ติดเชื้อ อาจติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ การคลอดลูก และการให้นมลูกได้เช่นค่ะ
สิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งคือ ผู้ที่ตั้งครรภ์ค่ะ เพราะเชื้อนี้สามารถส่งผ่านไปยังลูกได้ทางสายรก โดยเฉพาะในช่วง 1-3 เดือนแรก เชื้อนี้อาจส่งผลให้
- ทารกในครรภ์มีศีรษะที่เล็ก
- กระโหลกศีรษะ และสมองไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่
- แคระแกร็น
- พัฒนาการช้า
ดังนั้นผู้ที่ตั้งครรภ์ควรตระหนักในเรื่องการถูกยุงกัดด้วยค่ะ ป้องกัน และหลีกเลี่ยงไว้ก่อนแม่ก้อยว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ใครจะว่าเยอะ ว่าเวอร์ อย่างไร ก็ไม่ต้องสนใจค่ะ อันดับแรกต้องดูแลตัวเองและลูกไว้ก่อนค่ะ
อาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิก้า ดังนี้
- ไข้เฉียบพลัน ประมาณ 38.5 องศาเซลเซียล
- มีอาการปวดศีรษะ ปวดข้อ
- อ่อนเพลีย มีผื่นแดงขึ้นตามตัว
- เยื่อตาอักเสบ ตาแดง อาการข้อนี้สำคัญค่ะให้คอยสังเกตุ
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีน หรือยาสำหรับรักษาโรคไข้ซิก้าโดยเฉพาะ ทำได้เพียงแค่ควบคุม และลดปริมาณในการขยานตัวของยุงลายโดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงและการแพร่กระจายของโรค
สิ่งสำคัญทุกคนต้องป้องกัน และระวังตัวเองพยายามอย่าให้ยุงกัด เด็กเล็กที่ยังดูแลตัวเองไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยเหลือค่ะ สำหรับแม่ก้อยก่อนมีลูก แม่ก้อยไม่ยอมตบยุงเลยค่ะ ปล่อยให้บินผ่านหน้าไปมาสบายใจ แต่เดียวนี้อย่าได้เห็นเป็นอันขาด ฝ่ามือพิฆาตลอยมาแต่ไกลเลยค่ะ ตบถูกมั่ง ผิดมั่ง และก็หาเครื่องมือมาช่วยป้องกันให้กับลูกอีกทาง พวกสเปย์ กำไลกันยุง สายรัดข้อมือไล่ยุง เครื่องดักยุง เป็นตัวช่วยทีดีเชียวค่ะ แม่ก้อยไม่ต้องมานั่งปัดยุง ตบยุงให้เมื่อยมือ